เครือข่าย นปช. นนทบุรี
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ดร.โสภณ#4 เทียบนโยบายที่เหนือกว่ากันชัดๆ

Go down

ดร.โสภณ#4 เทียบนโยบายที่เหนือกว่ากันชัดๆ Empty ดร.โสภณ#4 เทียบนโยบายที่เหนือกว่ากันชัดๆ

ตั้งหัวข้อ  pornchokchai Fri Feb 15, 2013 10:53 am

ดร.โสภณ พรโชคชัย ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4
ดูนโยบายของผมได้ที่นี่: http://sopon4.housingyellow.com/p.php?p=pages_28.php

เมื่อวานนี้ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาประชันวิสัยทัศน์ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในด้านผังเมือง บริหารมหานครและการใช้ทางเท้า ผมไม่ได้รับเชิญ ผมจึงติดต่อไปแต่เขาว่ามีหลายคนแล้วและอนุญาตให้ผมไปฟังเผื่อแสดงความเห็นด้วย แต่เมื่อผมไปถึงคนล้นห้องแทบไม่มีที่ยืนจึงต้องเดินทางกลับในภายหลัง ในฐานะที่ผมรู้เรื่องเมืองเป็นอย่างดี จบ ดร.ด้านนี้ และทำงานเกี่ยวข้องมาโดยตลอด ผมจึงขอแสดงวิสัยทัศน์ที่แตกต่างตรงนี้ครับ
ลองเปรียบเทียบที่ผมตอบกับที่ท่านอื่นตอบ (http://prachatai.com/journal/2013/02/45274) ว่าต่างกันอย่างไรนะครับ

คำถาม: มีแนวทางจัดการเมืองอย่างไร ระหว่างเขตเศรษฐกิจ เมืองเก่า สถานบันเทิง ฯลฯ
เราต้องส่งเสริมและอำนวยความสะดวกต่อเขตเศรษฐกิจเพราะเป็นเขตที่สร้างรายได้และภาษีมาเลี้ยงดูประชาชนทั้งกรุงเทพมหานครและทั้งประเทศ ดังนั้นการอำนวยความสะดวกให้ประกอบการค้าเชื่อมโยงกับทั่วโลกได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ รูปธรรมก็คือระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น
ส่วนเขตเมืองเก่าเป็นเขตอนุรักษ์ความเป็นไทย สถาบันหลัก และรักษารากเหง้าทางวัฒนธรรม ผมเสนอการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์เป็นไนท์บาซาร์ที่ใหญ่และดีที่สุดในโลก เนื่องจากกลางวันร้อนจัด แต่ไม่ใช่เพียงเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อม ยังมุ่งส่งเสริมการแสดงออกของเด็ก เยาวชน ศิลปิน ผู้สูงอายุ เป็นต้น
ส่วนสถานบันเทิง ผมจะจัดโซนหรือบริเวณพิเศษให้อยู่ร่วมกัน โดยในบริเวณนี้มีการตรวจตราอาวุธและยาเสพติดอย่างเข้มงวด สถาบันบันเทิงต่าง ๆ จะย้ายเข้ามาอยู่แทบทั้งหมด เพราะไม่ต้องเสียค่าคุ้มครองเช่นที่เป็นอยู่ การรบกวนเพื่อนบ้าน ชุมชนและภาพบาดตาต่าง ๆ ก็จะหมดไป

คำถาม : ในทางกฎหมาย อำนาจของ กทม. มีจำกัด เช่น รถเมล์ เป็นของคมนาคม ถนนบางสายเป็นของกรมทางหลวง ฯลฯ ท่านคิดว่าจำเป็นหรือไม่ ที่จะดึงอำนาจการบริหารจัดการมาจากรัฐบาลกลาง มีแนวทางอย่างไร ด้วยวิธีการใด
บางท่านบอกว่าให้แก้ไขกฎหมายเพื่อให้ผู้ว่าฯ มีอำนาจมากขึ้น แต่การแก้ไขกฎหมายคงไม่ใช่หน้าที่ที่ทำได้สำเร็จของผู้ว่าฯ ผู้ว่าฯ ควรบริหารเรื่องใหญ่น้อยให้สำเร็จ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ เชื่อมั่นและให้ความร่วมมือให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ที่สำคัญต้องประสานต่อเนื่อง ไม่ถือตัวว่าได้รับเลือกตั้งมา
ตัวอย่างหนึ่งก็คือรถประจำทาง ซึ่งทางราชการบริหารขาดทุนมาโดยตลอด ในขณะที่รถร่วมฯ ที่ทางราชการได้ค่าธรรมเนียม กลับมีกำไร แต่รถร่วมฯ บางสายก็มีคุณภาพต่ำ ดังนั้นประเด็นจึงอยู่ที่การจัดการและการทำงานที่โปร่งใส ซึ่งหากผู้ว่าฯ กทม. ทำได้ ก็ย่อมสามารถแสวงหาความร่วมมือกับทุกภาคส่วนได้

คำถาม: มีแนวทางในการสร้างความสมดุลในการใช้พื้นผิวทางเท้า ระหว่างหาบเร่แผงลอยกับคนเดินทางอย่างไร
ปัจจุบันนี้ทางเท้ามีไว้ขายของ ถนนมีไว้เดินเสียแล้ว การขายของบนทางเท้าต้องเสียเงินแพง บางบริเวณสูงถึง 100-200 บาทต่อตารางเมตรต่อวัน เทียบได้กับการเช่าพื้นที่ห้างสรรพสินค้าหรูๆ เยี่ยงพารากอน หรือเอ็มโพเรียม แต่เงินไม่รู้ไปที่ไหน ถ้าผมเป็นผู้ว่าฯ จะลดค่าเช่าลงครึ่งหนึ่ง เพื่อผู้เช่าจะสามารถขายสินค้าและบริการในราคาที่ถูกลงต่อผู้ซื้อ แล้วนำเงินมาพัฒนาท้องถิ่น เก็บกวาดให้ดี ไม่ใช่ปล่อยระเกะระกะเช่นทุกวันนี้ แต่ถึงที่สุดต้องจัดบริเวณค้าขายให้ดี พร้อมกับการสร้างนิสัยการซื้อ-ขายสินค้าที่ไม่รบกวนสังคม

คำถาม: การมีส่วนร่วมคน กทม. มีอย่างจำกัด ในการออกบัญญัติ กทม.ทำได้ยาก ต้องเข้าชื่อไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น ต้องใช้เสียงถอดถอด 3 ใน 4 ของผู้มาใช้สิทธิ ประมาณ 2 ล้าน คำถามคือ ท่านมีท่าทีเชิงนโยบายที่จะขยายการมีส่วนร่วมในเรื่องนี้อย่างไร
สิ่งแรกที่ผมจะทำก็คือการถ่ายทอดสดการทำงานของผู้ว่าฯ ยกเว้นเวลาอยู่บ้านหรือนั่งล้วงแคะแกะเกาในห้องทำงานส่วนตัว แต่การเจรจาพบปะกับผู้มาเยี่ยมเยียนใด ต้องเปิดเผยได้ยินกันโดยตลอด รวมทั้งจัดที่นั่งให้ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมานั่งสังเกตการณ์ทำงานหน้าห้องผู้ว่าฯ เพราะไม่มีวาระซ่อนเร้น นี่เป็นการมีส่วนร่วมขั้นแรก ส่วนที่สำคัญก็คือการให้ภาคประชาชนได้ตรวจสอบการทำงานของทั้งผู้ว่าฯ และข้าราชการ กทม. แต่ไม่ใช่การเล่นปาหี่ ภาคประชาชนนี้จะต้องมาจากการเลือกตั้งในแต่ละลำดับชั้น ไม่ใช่กลุ่มองค์กรที่อุปโลกน์กันขึ้นมา เมื่อมีการตรวจสอบจากประชาชนใกล้ชิด ก็ย่อมโปร่งใส เพราะ “ผีย่อมกลัวแสงสว่าง”

คำถาม: เรื่องการจราจร
การสร้างจุดจอดแท็กซี่ที่ผ่านมาน่าจะมีปัญหา ใช้งบประมาณไปมากมาย อาจไม่คุ้มค่า ไม่รู้เงินเข้ากระเป๋าใคร ควรสร้างจุดจอดวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างมากกว่าสร้างเพิงอยู่บนทางเท้า และควรประกันชีวิตมอเตอร์ไซค์รับจ้างและผู้โดยสาร รวมทั้งการตรวจสอบให้ดี เพื่อไม่ให้มีการรีดไถ
ในการแก้ปัญหาจราจร เฉพาะหน้าต้องทำบัสเลนเฉพาะช่วงเช้าเย็น ใครฝ่าฝืนจับปรับหนัก แต่ไม่ทำบีอาร์ทีที่ใช้ช่องทางจราจร 2 ช่องตลอด 24 ชั่วโมงซึ่งไม่มีประโยชน์ อนาคตเมื่อสร้างรถไฟฟ้าแล้วจะต้องเลิกบีอาร์ที ส่วนที่มีรถไฟฟ้าแล้วก็สร้างรถไฟฟ้ามวลเข้าเข้าถึงพื้นที่ปิดล้อม รวมทั้งการส่งเสริมให้มีจักรยานยนต์ไฟฟ้าคันแรก และการใช้จักรยานเช่า 40,000 คัน 1,000 จุดเพื่อให้คนใจกลางเมืองขี่ไปทำงาน

คำถาม: กทม.ใช้งบมากแก้ปัญหาปากท้องให้กทม. ซึ่งส่วนหนึ่งเอามาจากงบรวมทั้งประเทศ แล้วจังหวัดอื่นที่ประชาชนยากจนกว่าเขาจะคิดอย่างไร มีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร
การพัฒนาใด ๆ นั้น ผู้ใช้ต้องเป็นผู้จ่าย ไม่ใช่ไปขอเงินหลวง ไม่ใช่ไปกู้เงินตะพึดตะพือ จะได้ไม่เอาเปรียบคนจน เมืองพิเศษ เช่น กทม. หรือพัทยา ต้องมีนโยบายเป็นสากล คือ นอกจากบริหารด้วยเงินตัวเองแล้ว ยังมีเงินสนับสนุนชาติ ไม่ใช่ยังไปขอเงินงบประมาณแผ่นดิน เช่นทุกวันนี้ 20% ของงบ กทม. มาจากเงินภาษีประชาชนทั่วประเทศ

คำถาม: ผู้สมัครแต่ละท่านมีนโยบายอย่างไรในการสนับสนุนการอ่านของคนกรุงเทพฯ ทำอย่างไรให้ประชาชนได้อ่านหนังสือที่มีคุณภาพ
ก่อนอื่นต้องส่งเสริมให้มีหนังสือที่มีคุณค่า และอ่านสนุก พร้อมกับเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของ โดยเริ่มต้นที่สถานีของ กทม. ก่อน การกระตุ้นต่อเนื่องที่ไม่ใช่แบบ “ไฟไหม้ฟาง” เป็นสิ่งจำเป็น

คำถาม: เขตปทุมวันส่วนใหญ่เป็นที่ดินทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ถ้ามีการไล่รื้อ เมื่อเป็นผู้ว่าฯ จะดูแลชุมชุนอย่างไรให้อยู่คู่เมืองใหญ่ / จะมีแนวทางจัดการปัญหาขยะอย่างไร เพราะขยะไม่มาเก็บหลายวัน
ต้องเจรจากับทรัพย์สินฯ สร้างแนวคิดการพัฒนาแบบ Land Sharing คือแบ่งส่วนหนึ่งให้ประชาชนอยู่อาศัย อีกส่วนหนึ่งให้ทรัพย์สินฯ ไปพัฒนาทางธุรกิจตามที่ต้องการ มีกรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่นที่ถนนพระรามที่ 4 เป็นต้น
ส่วนเรื่องขยะนั้น นหัวใจในการบริหารขยะอยู่ที่การลดปริมาณขยะ การแยกขยะ และการกำจัดขยะที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษโดยใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสเพื่อให้เกิดความผาสุกในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งการสร้างรายได้จากขยะ

คำถาม: พัฒนาอย่างไรให้ประชาชนกรุงเทพฯ พร้อมเข้าสู่ AEC ตามทันสิงคโปร์
ผมไปสำรวจนครต่าง ๆ มาทั่วอาเซียน ไปเป็นทำงานให้กับกระทรวงการคลังกัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย รวมทั้งองค์การสหประชาชาติและธนาคารโลก พบว่าหากเปิด AEC ไทยจะได้รับความสนใจในการลงทุนมากที่สุด เราต้องทำสัญญาและธุรกรรมต่าง ๆ ให้เป็นธรรม เพื่อความมั่นใจของนักลงทุนและคุ้มครองประโยชน์ของคนไทย ควรให้ผู้ประกอบการได้ “ติดอาวุธ” ทางปัญญาเพื่อแข่งขันกับต่างชาติได้

pornchokchai

จำนวนข้อความ : 50
Join date : 08/12/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ